รายงานความก้าวหน้า รายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 05

บทที่ 3 รายงานการปฏิบัติงานของที่ปรึกษา

 

3.1  รายงานการปฏิบัติงานของที่ปรึกษา

ในเดือน มกราคม 2563 ที่ปรึกษาได้ปฏิบัติงานควบคุมงานก่อสร้างโครงการ สรุปการดำเนินงานได้ดังนี้

3.1.1        การควบคุมงานก่อสร้าง

ที่ปรึกษาได้ดำเนินการควบคุมงานก่อสร้าง ในเดือน มกราคม 2563มีรายละเอียดการดำเนินงานและความก้าวหน้าของงานตามที่กล่าวในบทที่ 2 ข้อ2.2 รายละเอียดความก้าวหน้าของงานในสายทาง

ความก้าวหน้าในช่วงเดือนมกราคม 2563(3.73%)ผลงานความก้าวหน้าแสดงไว้ในตารางที่ 3.1-1 ดังนี้

ตารางที่ 3.1-1 สรุปผลงานความก้าวหน้าของบริษัทที่ปรึกษา

3.2  การตรวจสอบการอนุมัติการใช้วัสดุ

ในเดือน มกราคม 2563ได้แสดงเกณฑ์การทดสอบGeneral Test และ Control Test แสดงไว้ในตารางที่ 3.2-1 – 3.2-3 ดังนี้

ตารางที่ 3.2-1 ตารางการทดสอบ General Test และ Control Test

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ จุดตัดทางรถไฟกับถนนสาย นฐ. 1023แยก ทล.4 – บ้านวัดละมุด อ.เมือง,นครชัยศรี จ.นครปฐม

ผลการทดสอบวัสดุ

ในระหว่างวันที่ 1-31มกราคม 2563 ผู้ว่าจ้างได้เสนอหนังสือขออนุมัติใช้วัสดุถึงที่ปรึกษา โดยที่ปรึกษาได้ตรวจสอบวัสดุดังกล่าวมีผลทดสอบดังตาราง

ตารางที่ 3.2.2 ตารางผลการทดสอบวัสดุ General Test

โครงการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ จุดตัดทางรถไฟกับถนนสาย นฐ. 1023 แยก ทล.4 – บ้านวัดละมุด อ.เมือง,นครชัยศรี จ.นครปฐม

ผลการทดสอบวัสดุ

ในระหว่างวันที่ 1-31มกราคม 2563 ผู้ว่าจ้างได้เสนอหนังสือขออนุมัติใช้วัสดุถึงที่ปรึกษา โดยที่ปรึกษาได้ตรวจสอบวัสดุดังกล่าวมีผลทดสอบดังตาราง

ตารางที่ 3.2.3 ตารางผลการทดสอบวัสดุ Control Test

3.3  การจัดการประชุมและการจัดส่งเอกสาร

ในการดำเนินงานควบคุมงานก่อสร้าง ได้มีการจัดส่งเอกสารหนังสือต่างๆ ระหว่างกรมทางหลวงชนบท ที่ปรึกษา และผู้รับจ้างดังนี้

3.3.1        การประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมงานก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ

 

  • จัดทำรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอ ประจำเดือนมกราคม 2563

  • จัดทำรายงานการปฏิบัติการของที่ปรึกษา ประจำเดือน มกราคม 2563

  • จัดทำรายงานการควบคุมงานก่อสร้าง ประจำเดือน มกราคม 2563

บทที่ 4 แผนงานก่อสร้างและแผนการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาในเดือนถัดไป

 

แผนงานก่อสร้างประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2563คาดว่าจะได้ผลงานเท่ากับ 2.36%ของโครงการฯ คิดเป็นมูลค่ารวม4,984,926.34บาท ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

4.1  แผนงานก่อสร้างในเดือนถัดไป

1.  งานทั่วไป และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการควบคุมงาน

  • ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม

รวมแผนงานคิดเป็น                     0.007%

  • งานจัดหายานพาหนะ (รวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าบำรุงรักษา)

รวมแผนงานคิดเป็น                     0.011%

  • งานบำรุงรักษาทางและป้องกันผลกระทบด้านการจราจร

รวมแผนงานคิดเป็น                     0.036%

  • งานควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขณะก่อสร้าง

รวมแผนงานคิดเป็น                     0.028%

รวมแผนงานงานทั่วไปฯคิดเป็น 0.082% ของโครงการ

 

2.งานเสาเข็มและโครงสร้างฐานราก

  • งานเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 ม.(จำนวน 103 ต้น ยาวเฉลี่ย 42.00 ม.)

รวมแผนงานคิดเป็น                     2.124%

  • งานเสาเข็มเจาะ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 ม. (จำนวน 32 ต้น ยาวเฉลี่ย 44.00 ม.)

รวมแผนงานคิดเป็น                     0.156%

 

รวมแผนงาน งานเสาเข็มและโครงสร้างฐานราก คิดเป็น 2.280% ของโครงการ

 

 

 

4.2  แผนการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาในเดือนถัดไป

ที่ปรึกษามีแผนในการปฏิบัติงานควบคุมการก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟจุดตัดทางรถไฟกับถนนสาย นฐ.1023แยก ทล.4-บ้านวัดละมุด สำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ตามรายละเอียดดังนี้

  1. ควบคุมการก่อสร้างตามรายละเอียดในสัญญา
  2. การประสานงานกับหน่วยงานสาธารณูปโภค
  3. ตรวจสอบแผนงาน
  4. ตรวจสอบผลงานผู้รับจ้างก่อสร้าง
  5. เก็บรวบรวมรายงานการปฏิบัติงาน
  6. การประชาสัมพันธ์โครงการ
  7. การจัดทำเอกสารและการนำเสนอ
    • จัดทำรายงานความก้าวหน้า ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2563
    • จัดทำรายงานการปฏิบัติการของที่ปรึกษา ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2563
    • จัดทำรายงานการควบคุมงานก่อสร้าง ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2563
  8. การประชุมและประสานงาน
    • ประชุมร่วมระหว่างนายช่างโครงการฯ กรมทางหลวงชนบท ที่ปรึกษาและผู้รับจ้าง

บทที่ 2 ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน

 

2.1  ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง

ความก้าวหน้าประจำเดือน มกราคม 2563เท่ากับ 1.29% ผลงานสะสม เท่ากับ 3.73 %โดยผู้รับจ้างกำลังดำเนินการงานทั่วไปและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการควบคุม,ขออนุมัติวัสดุ/โรงงานและงานเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 เมตรแสดงไว้ในตารางที่ 2.1-1

ตารางที่ 2.1-1 สรุปผลงานความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง

2.2  รายละเอียดของความก้าวหน้าในสายทาง

 

ที่ปรึกษาได้ติดตามความก้าวหน้าของงาน และนำมาจัดทำเป็น S-CURVE เปรียบเทียบกันระหว่างแผนงานและผลงานก่อสร้าง ดังรูปที่ 2.2-1

รูปที่ 2.2-1 S-CURVE เปรียบเทียบระหว่างแผนงานและผลงานก่อสร้างของโครงการจุดตัดทางรถไฟกับถนนสาย นฐ.1023 แยก ทล.4-บ้านวัดละมุด

2.3  สรุปการเบิกจ่ายเงินของผู้รับจ้าง

 

ในเดือน มกราคม 2563 มีความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง แต่ไม่มีการตรวจรับงานใดๆ ดังสรุปในตารางที่ 2.3-1

ตารางที่ 2.3-1 สรุปการเบิกจ่ายเงินของผู้รับจ้าง

2.4  การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • กรมสัตว์ทหารบก ค่ายทองทีฆายุ

 

2.5  ปัญหาและอุปสรรค

ปัญหาสืบเนื่อง: จากปัญหา-อุปสรรค ในปี 2560 ผู้รับจ้างไม่สามารถเข้าพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และกรมสัตว์ทหารบก ค่ายทองทีฆายุได้ กรมทางหลวงชนบทจึงได้ออกหนังสือ    ขอชะลอการเข้าปฏิบัติงานตั้งแต่เดือน 17 สิงหาคม 2560 แก่ผู้รับจ้าง จนวันที่ 30 สิงหาคม 2562 กรมทางหลวงชนบทได้ออกหนังสือ แจ้งให้ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการก่อสร้างในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ระหว่างรอการอนุญาตอย่างเป็นทางการ  ได้ตั้งแต่ 2 กันยายน 2562 ทำให้ผู้รับจ้างสามารถดำเนินการก่อสร้างในส่วนของบริเวณ กม. 0+000 ถึง 0+362 ได้ แต่ยังไม่สามารถเข้าดำเนินการเข้าพื้นที่กรมสัตว์ทหารบก ค่ายทองทีฆายุได้

แนวทางแก้ปัญหา: ที่ปรึกษาได้แนะนำให้ผู้รับจ้างดำเนินงานในช่วง กม. 0+000 ถึง 0+362 ในระหว่างที่รอกรมสัตว์ทหารบก ค่ายทองทีฆายุ อนุญาตให้เข้าพื้นที่

 

ปัญหางานบำรุงรักษาทางและป้องกันผลกระทบด้านการจราจร :

ผู้รับจ้างมิได้ส่งแผนจัดการจราจรชั่วคราวแก่ที่ปรึกษา

แนวทางแก้ปัญหา: ที่ปรึกษาได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการจัดส่ง แผนจัดการจราจรชั่วคราวแก่ที่ปรึกษาให้เร็วที่สุด

 

ปัญหางานควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขณะก่อสร้าง:

ผู้รับจ้างยังมิได้ดำเนินการตามองค์ประกอบของงานที่ระบุในคุณลักษณะและข้อกำหนดรายละเอียดการก่อสร้าง ดังนี้

หลักฐานซึ่งแสดงว่า จัดทำกรรมธรรม์ประกันภัยของโครงการฯ

  1. หลักฐานซึ่งแสดงว่าการประกันภัยทั้งหมดตามที่ระบุในสัญญามีผลบังคับใช้แล้ว(ยังมิได้ทำกรมธรรม์ประกันภัยโครงการฯ)
  2. สำเนาเงื่อนไขการประกันภัยต่างๆ ตามที่ระบุในสัญญาพร้อมทั้งสำเนาใบเสร็จรับเงินค่าเบี้ยประกัน(ยังมิได้ทำกรมธรรม์ประกันภัยโครงการฯ)
  3. มีขั้นตอนการดำเนินการด้านความปลอดภัยและสาธารณสุข
  4. มีคู่มือความปลอดภัยและแบบฟอร์มตรวจสอบความปลอดภัย
  5. มีแผนปฏิบัติการเพื่อความปลอดภัยและแผนปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉิน
  6. มีผู้ควบคุมงานด้านความปลอดภัยของผู้รับจ้าง( จป. วิชาชีพ)
  7. มีการ์ฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้นเป็นครั้งที่ 1 ของโครงการให้แก่ บุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจ้างทุกคน
  8. การจัดให้มีมาตรการความปลอดภัยที่ดำเนินการในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งได้ผลเป็นที่พอใจ

ของวิศวกรของผู้ว่าจ้าง

  1. มีการตรวจสอบความปลอดภัยของสถานที่ก่อสร้างประจำวัน
  2. มีการประชุมและรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในระหว่างเดือน
  3. มีการจัดทำรายงานความปลอดภัยในระหว่างเดือน
  4. มีการจัดทำรายงานอุบัติเหตุในระหว่างเดือน
  5. มีการดำเนินการให้ความรู้และฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้นให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ในความรับผิดชอบข้องผู้รับจ้างเป็นระยะอย่างต่อเนื่องตามที่วิศวกรของผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนด

แนวทางแก้ปัญหา: ที่ปรึกษาได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการตามองค์ประกอบของงานที่ระบุในคุณลักษณะและข้อกำหนดรายละเอียดการก่อสร้างให้เร็วที่สุด

 

ทั้งนี้ทางที่ปรึกษาควบคุมงาน ได้ให้คำแนะนำและเร่งรัดให้ผู้รับจ้าง ดำเนินการทั้งในด้านของเอกสารและหน้างานอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้าในการก่อสร้าง