บทที่ 2 ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน

บทที่ 2

ความก้าวหน้าในการปฏิบัติงาน

2.1      ความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง

ความก้าวหน้าประจำเดือน เมษายน 2563เท่ากับ 2.17% ผลงานสะสม เท่ากับ 10.74%แสดงดังต่อไปนี้

  1. งานทั่วไป และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการควบคุมงาน
    • ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม

คิดเป็น                      0.007%

  • งานจัดหายานพาหนะ (รวมค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าบำรุงรักษา)

คิดเป็น                      0.011%

  • งานบำรุงรักษาทางและป้องกันผลกระทบด้านการจราจร

คิดเป็น                      0.036%

  • งานควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขณะก่อสร้าง

คิดเป็น                      0.028%

รวมผลงาน งานทั่วไปฯ คิดเป็น 0.082 % ของโครงการฯ

 

2.งานเสาเข็มและโครงสร้างฐานราก

  • งานเสาเข็มเจาะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.80 ม.(จำนวน 103 ต้น ยาวเฉลี่ย 42.00 ม.)

คิดเป็น                      0.743%

  • งานเสาเข็มเจาะ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.00 ม. (จำนวน 32 ต้น ยาวเฉลี่ย 44.00 ม.)

คิดเป็น                     1.252%

  • งานทดสอบความสมบูรณ์ของเสาเข็ม โดยวิธี Seismic

คิดเป็น                     0.009%

  • งานโครงสร้างฐานราก(คอนกรีตชนิด ค.3)

คิดเป็น                     0.058%

  • งานโครงสร้างฐานราก(งานเหล็กเสริม ชั้นคุณภาพ SD40 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20มม.)

คิดเป็น                     0.006%

 

  • งานโครงสร้างฐานราก(งานเหล็กเสริม ชั้นคุณภาพ SD40 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 28มม.)

คิดเป็น                     0.021%

รวมผลงาน งานเสาเข็มและโครงสร้างฐานราก คิดเป็น 2.089% ของโครงการฯ

 

 

ตารางที่ 2.1-1 สรุปผลงานความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง

2.2      รายละเอียดของความก้าวหน้าในสายทาง

ที่ปรึกษาได้ติดตามความก้าวหน้าของงาน และนำมาจัดทำเป็น S-CURVE เปรียบเทียบกันระหว่างแผนงานและผลงานก่อสร้าง ดังรูปที่ 2.2-1

รูปที่ 2.2-1 S-CURVE เปรียบเทียบระหว่างแผนงานและผลงานก่อสร้างของโครงการจุดตัดทางรถไฟกับถนนสาย นฐ.1023 แยก ทล.4-บ้านวัดละมุด

 

2.3      สรุปการเบิกจ่ายเงินของผู้รับจ้าง

 

ในเดือน เมษายน 2563 มีความก้าวหน้าของงานก่อสร้าง แต่ไม่มีการตรวจรับงานใดๆ ดังสรุปในตารางที่ 2.3-1

ตารางที่ 2.3-1 สรุปการเบิกจ่ายเงินของผู้รับจ้าง

2.4      การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • กรมการสัตว์ทหารบก ค่ายทองทีฆายุ
  • การประปาส่วนภูมิภาค นครปฐม

 

2.5      ปัญหาและอุปสรรค

ปัญหาข้อร้องเรียน:ประชาชนในพื้นที่ร้องเรียน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง

แนวทางแก้ปัญหา: อยู่ในขั้นตอนการไกล่เกลี่ย

 

ปัญหางานควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในขณะก่อสร้าง:

ผู้รับจ้างยังมิได้ดำเนินการตามที่ระบุในคุณลักษณะและข้อกำหนดรายละเอียดการก่อสร้าง ดังนี้

หลักฐานซึ่งแสดงว่า จัดทำกรรมธรรม์ประกันภัยของโครงการฯ

  1. มีขั้นตอนการดำเนินการด้านความปลอดภัยและสาธารณสุข
  2. มีคู่มือความปลอดภัยและแบบฟอร์มตรวจสอบความปลอดภัย
  3. มีแผนปฏิบัติการในกรณีฉุกเฉิน
  4. มีผู้ควบคุมงานด้านความปลอดภัยของผู้รับจ้าง( จป. วิชาชีพ)
  5. มีการ์ฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติในเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้นเป็นครั้งที่ 1 ของโครงการให้แก่ บุคลากรที่อยู่ในความรับผิดชอบของผู้รับจ้างทุกคน
  6. การจัดให้มีมาตรการความปลอดภัยที่ดำเนินการในระหว่างการก่อสร้าง ซึ่งได้ผลเป็นที่พอใจ

ของวิศวกรของผู้ว่าจ้าง

  1. มีการตรวจสอบความปลอดภัยของสถานที่ก่อสร้างประจำวัน
  2. มีการประชุมและรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยในระหว่างเดือน
  3. มีการจัดทำรายงานความปลอดภัยในระหว่างเดือน
  4. มีการจัดทำรายงานอุบัติเหตุในระหว่างเดือน
  5. มีการดำเนินการให้ความรู้และฝึกอบรมเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้นให้แก่บุคลากรทุกคนที่อยู่ในความรับผิดชอบข้องผู้รับจ้างเป็นระยะอย่างต่อเนื่องตามที่วิศวกรของผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนด

แนวทางแก้ปัญหา: ที่ปรึกษาได้เร่งรัดให้ผู้รับจ้างดำเนินการตามองค์ประกอบของงานที่ระบุในคุณลักษณะและข้อกำหนดรายละเอียดการก่อสร้างให้เร็วที่สุด