บทที่ 4 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

บทที่ 4

ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

4.1 ปัญหาอุปสรรค และแนวทางแก้ไข ประจำเดือน เมษายน 2562

ด้านหน้างาน

ปัญหา: การรื้อย้ายเสาไฟฟ้า คงเหลือเสาไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ทำการรื้อย้ายจำนวน 11 ต้น ด้านขวาทาง เนื่องจากยังต้องพาดสายไฟฟ้าแรงต่ำ

แนวทางการแก้ไข: ที่ปรึกษาเตรียมส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้าง 100% โดยได้แจ้งว่าหากดำเนินการมาถึงจุดที่ติดสายไฟแรงต่ำให้ทำการแจ้งที่ปรึกษา เพื่อที่ปรึกษาจะประสานงานการไฟฟ้านครหลวงต่อไป ทั้งนี้ เสาไฟฟ้าจำนวน 11 ต้นนี้ ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงานของผู้รับจ้างแต่อย่างใด

 

ด้านการก่อสร้าง

  1. ปัญหา: ผลการทดสอบกำลังอัดตัวอย่างคอนกรีต ของโครงสร้างเสาสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก     กม. 9+502.220 ถึง กม. 9+529.220 ตำแหน่ง P-2, P-3 ได้ค่ากำลังอัดคอนกรีต ตัวอย่างที่ 1 เท่ากับ 280.90 ksc. , ตัวอย่างที่ 2 เท่ากับ 271.84 ksc., ตัวอย่างที่ 3 เท่ากับ 289.96 ksc., ตัวอย่างที่ 4 เท่ากับ 321.68 ksc.เฉลี่ย เท่ากับ 291.1 ksc. คิดเป็น 97% ซึ่งไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ  ค.3 เท่ากับ 300 ksc. ตามที่ได้กำหนดไว้ในเอกสารหมายเลข 4 ทางผู้รับจ้างจึงได้ทำการเก็บตัวอย่างคอนกรีตด้วยวิธีการคอร์ริ่งโครงสร้างเสาสะพาน ตำแหน่ง P-2, P-3 เบื้องต้นผลทดสอบไม่ผ่านเกณฑ์การทดสอบการรับกำลังอัดคอนกรีต

แนวทางการแก้ไข:รอผลการทดสอบกำลังอัดของตัวอย่างคอนกรีต ที่ผู้รับจ้างได้ทำการเก็บตัวอย่างด้วยวิธีการคอร์ริ่งโครงสร้างเสาสะพาน ตำแหน่ง P-2, P-3 อย่างเป็นทางการ และให้ผู้รับจ้างเสนอวิธีการสกัดโครงสร้างเสาสะพาน P-2, P-3 ที่ไม่สามารถรับกำลังได้ เพื่อให้ที่ปรึกษาและโครงการฯพิจารณาต่อไป

  1. ปัญหา: การเสียบแผ่นกำแพงกันดินในบางช่วงเสา ผู้รับจ้างไม่สามารถติดตั้งแผ่นกำแพงดินให้เป็นไปตามแบบก่อสร้างได้ ซึ่งในขณะนี้ ผู้รับจ้างยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใด

แนวทางการแก้ไข: ให้ผู้รับจ้างเสนอวิธีการแก้ไขปัญหา เพื่อให้ปรึกษาและโครงการฯพิจารณาต่อไป